เทคนิคการสร้างองค์ความรู้
เทคนิคการสร้างองค์ความรู้
: (3)
เทคนิคการวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎี
*
ศาสตราจารย์ ดร.วิโฬฏฐ์
วัฒนานิมิตกูล
“เทคนิคการวิเคราะห์
สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎี”
เป็นหนึ่งในเทคนิคการสร้างองค์ความรู้ที่ผู้เขียนนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อ่านทุกท่าน
โดยเทคนิคนี้ใช้ในกรณีของการวิเคราะห์ สังเคราะห์
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสาระความรู้ที่ศึกษา ค้นคว้า ซึ่งอาจมีผู้รู้
นักคิด หรือนักการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับในวงการได้เสนอแนวคิดไว้ในหลายแง่มุม
ทั้งในลักษณะที่สอดคล้องกัน ใกล้เคียงกัน หรือแตกต่างกันในบางประเด็น
ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อลงข้อสรุปและกำหนดเป็นประเด็นความรู้ในด้านต่างๆ
สามารถดำเนินการได้ใน 2 วิธีการ คือ
วิธีการที่
1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่
วิธีการนี้เป็นการนำประเด็นเนื้อหาสาระที่ต้องการวิเคราะห์และสังเคราะห์บรรจุลงในตารางแจกแจงความถี่ แล้วดำเนินการวิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบความถี่ของประเด็นสาระนั้น ส่วนการสังเคราะห์เพื่อลงข้อสรุปหรือกำหนดเป็นประเด็นต่างๆ ให้นำประเด็นสาระที่มีความถี่สูงกว่ามาเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาสังเคราะห์ ดังตัวอย่างการวิเคราะห์และสังเคราะห์การออกแบบการเรียนการสอนของนักการศึกษาต่างๆ ดังนี้
ตาราง แสดงตัวอย่าง การวิเคราะห์ และสังเคราะห์การออกแบบการเรียนการสอนของนักการศึกษาต่าง ๆ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ด้วยความถี่ ตามแนวคิดของผู้เขียน
จากตัวอย่างในตารางข้างต้น
สามารถสรุปได้ว่า นักการศึกษา(นามสมมุติ)
ส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนว่าควรประกอบด้วยขั้นตอนใดบ้าง โดยพิจารณาจากผลสรุปรวมความถี่ในระดับสูงที่ปรากฏในตารางวิเคราะห์ นอกจากนี้ผู้วิเคราะห์อาจเพิ่มประเด็นที่ตนเองพิจารณาแล้วว่ามีความเหมาะสมลงในข้อสรุปได้ด้วย
วิธีการที่
2
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้วยการใช้ดุลยพินิจ
วิธีการนี้เป็นการนำประเด็นเนื้อหาสาระที่ต้องการวิเคราะห์และสังเคราะห์บรรจุลงในตารางวิเคราะห์และสังเคราะห์ ทั้งนี้ ลักษณะของตารางอาจออกแบบตามความเหมาะสม
แล้วดำเนินการวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงรายละเอียดสำคัญ ๆ ของแต่ละหัวข้อความรู้ จากนั้นสังเคราะห์โดยใช้ “ดุลยพินิจ”พิจารณาสาระสำคัญที่ได้วิเคราะห์ไว้ของแต่ละหัวข้อความรู้ เพื่อลงข้อสรุปหรือกำหนดเป็นประเด็นต่าง ๆ ดังตัวอย่างการวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิดของนักการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของรูปแบบการสอน
ดังนี้
ตาราง ตัวอย่างการวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิดของนักการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบ (บางส่วน) ของรูปแบบการสอน ตามแนวคิดของผู้เขียน
หมายเหตุ เป็นตัวอย่างการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการสอนในบางส่วนของรูปแบบการสอนเท่านั้น
จากตารางตัวอย่างแสดงการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการสอน จะเห็นได้ว่ามีการแบ่งตารางเป็น 2 ส่วน คือ (1) ส่วนของการวิเคราะห์ เป็นการนำเสนอแนวคิดหลัก ๆ เกี่ยวกับองค์ประกอบของรูปแบบการสอนของนักการศึกษา จำนวน 5 ท่าน (2) ส่วนของการสังเคราะห์ เป็นการนำเสนอในส่วนของการสังเคราะห์แนวคิดของนักการศึกษาทั้ง 5 ท่าน เพื่อกำหนดเป็นองค์ประกอบของรูปแบบการสอน ซึ่งในที่นี้ได้สังเคราะห์องค์ประกอบ(บางส่วน)ของรูปแบบการสอน ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐานของรูปแบบการสอน หลักการของรูปแบบการสอน และจุดหมายของรูปแบบการสอน
------------------------------------------
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น