เทคนิคการสร้างองค์ความรู้
เทคนิคการสร้างองค์ความรู้
:
(4) เทคนิคการวางโครงร่าง
“เทคนิคการวางโครงร่าง” เป็นเทคนิคที่มีความต่อเนื่องจาก
“เทคนิคการกำหนดต้นทางความคิด” และ “เทคนิค คิด ค้น คิด(3 ค.)”ที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้ก่อนหน้านี้
กล่าวคือเมื่อได้ประเด็นสาระที่สนใจหลักและประเด็นสาระที่เกี่ยวข้องจากการดำเนินการตามเทคนิคการกำหนดต้นทางความคิดและเทคนิค คิด
ค้น คิด(3 ค.)แล้ว จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญและขอบเขตของประเด็นที่จะศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้มีความชัดเจนในการศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ต่อไป ให้ดำเนินการกำหนดเป็น “โครงร่าง.....(ของสิ่งที่จะศึกษา
ค้นคว้าและเรียนรู้).....”
สำหรับการกำหนดเป็น “โครงร่าง.....(ของสิ่งที่จะศึกษา
ค้นคว้าและเรียนรู้).....”นั้น เป็นการนำเสนอเค้าโครงที่เป็น
“ภาพจำลอง”
แสดงให้เห็น “กรอบความคิดและการดำเนินการทั้งระบบ”
ประกอบด้วย ปัจจัย กระบวนการ และผลผลิตของการศึกษา
ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ โดยใช้เครื่องหมาย
การจัดลำดับ และเส้นโยงความสัมพันธ์ในการนำเสนอเป็นแผนภาพที่เรียงลำดับแนวคิดจากบนลงล่าง
และจากด้านซ้ายไปยังด้านขวา สำหรับในกรณีที่โครงร่างมีความซับซ้อนมาก อาจใช้ตัวเลขกำกับเพื่อช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น
ทั้งนี้
สามารถนำเทคนิคการวางโครงร่างนี้ไปใช้ในสถานการณ์ของการศึกษา ค้นคว้า
และเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ ได้ตามแต่กรณี เช่น การนำไปใช้ในการ
“วางกรอบแนวคิดในการวิจัย” เป็นต้น
ตัวอย่าง การวางโครงร่างที่เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อสร้างเสริมจิตสาธารณะในการแก้ปัญหาสังคม โดยการสร้างความกระจ่างค่านิยมและการกำกับตนเอง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
จากตัวอย่างการวางโครงร่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่า
ประเด็นหลักที่จะทำการศึกษาค้นคว้าคือ “การสร้างเสริมจิตสาธารณะในการแก้ปัญหาสังคม
สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี” โดยการพัฒนารูปแบบการสอนขึ้นมาเป็นการเฉพาะเพื่อการสร้างเสริมคุณลักษณะดังกล่าว ซึ่งจากการดำเนินการตาม "เทคนิคการกำหนดต้นทางความคิด" และ "เทคนิคการคิด
ค้น คิด (3ค.)" ทำให้ได้ข้อมูล แนวคิด ทฤษฎี และสาระที่เกี่ยวข้องกับจิตสาธารณะในการแก้ปัญหาสังคมในหลายมุมมอง
ทั้งในด้านสภาพปัจจุบัน ปรัชญาการศึกษา สาระของปัญหาสังคม งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดการสร้างความกระจ่างค่านิยม การกำกับตนเอง และการเรียนแบบร่วมมือ จึงนำประเด็นสาระดังกล่าวมา "วางโครงร่าง" เพื่อใช้เป็นกรอบในการสร้างเสริมจิตสาธารณะในการแก้ปัญหาสังคม
สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ด้วยการ
“พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อสร้างเสริมจิตสาธารณะในการแก้ปัญหาสังคม
โดยการสร้างความกระจ่างค่านิยมและการกำกับตนเอง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี”
ดังนั้น โครงร่างที่จัดทำขึ้น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งใน 2 สถานการณ์ คือ (1) เป็นการจำลองให้เห็นภาพรวมของการศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ (2) เป็นขอบเขตของประเด็นการศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ ในส่วนประกอบย่อย ๆ ของโครงร่างหรือภาพจำลองนั้น ๆ
------------------------------------
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น