บทความ

จัดทำตำราและหนังสืออย่างไรให้”โดนใจ”ผู้ประเมิน

รูปภาพ
                             * ศาสตราจารย์ ดร.วิโฬฏฐ์  วัฒนานิมิตกูล            การดำรงตำแหน่งทางวิชาการในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ นับว่าเป็นเป้าหมายของคณาจารย์ในระดับอุดมศึกษาทุกท่าน ด้วยตำแหน่งดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางวิชาการ ความเป็นปัจจุบันทางวิชาการ และที่สำคัญยิ่งคือ นับเป็น “เกียรติยศที่ยิ่งใหญ่” คู่ควรกับการเป็นคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาที่มีบทบาทโดยตรงในการสร้างองค์ความรู้และขยายวงความรู้ไปสู่การพัฒนาในวงวิชาการอย่างสมภาคภูมิ           อย่างไรก็ตาม “การจัดทำผลงานทางวิชาการ” เพื่อก้าวเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่ง่ายดาย   หากแต่เป็นเรื่องที่คณาจารย์ต้องใช้ความตั้งใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ในการค้นคว้าหาความรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ให้เกิดเป็นผลงานทางวิชาการที่ทรงคุณค่าสมกับตำแหน่งทางวิชาการที่ได้รับ   โดยมี “ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานทางวิชาการ( Reader) ” เป็นผู้ให้การตัดสินว่า ผลงานทางวิชาการดังกล่าวจะ “โดนใจ” โดยมีคุณภาพเหมาะสมกับระดับตำแหน่งทางวิชาการเพื่อการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการนั้น ๆ หรือไม่          

เจาะลึก... ตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะด้าน (ไม่ยากเกินความสามารถ)

รูปภาพ
           ศ.ดร.วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล             ในแวดวงคณาจารย์ระดับอุดมศึกษาในเวลานี้ มีเรื่องราวให้เรียนรู้ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในหลายด้าน   หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ คือการเปิดโอกาสให้คณาจารย์ที่ไม่มีเวลาหรือโอกาสมากพอ   ในการจัดทำผลงานทางวิชาการต่าง ๆ   ไม่ว่าจะเป็น   การวิจัย การเขียนตำรา หนังสือ หรือผลงานในลักษณะอื่น    เพื่อการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์              รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ เนื่องจากคณาจารย์ในกลุ่มนี้มีภารกิจส่วนใหญ่ผูกพันกับภารกิจด้านใดด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะ อาทิ การลงพื้นที่เพื่อการพัฒนาชุมชน การคิดค้นนวัตกรรม การพัฒนาการเรียนการสอน เป็นต้น ซึ่งความทุ่มเทในการปฏิบัติงานเฉพาะดังกล่าวนำมาซึ่งความก้าวหน้าในเชิงวิชาการได้เป็นอย่างมากมาย   ในเวลานี้ ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์   รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.2564 ได้เปิดช่องทางให้คณาจารย์กลุ่มดังกล่าว ได้นำผลงานทางวิชาการที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติภารกิจเฉพาะด้านเหล่านั้นมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้  

หน้าแรก

  ระเบียงสาระ ส่วนหนึ่งของสรรพสาระเพื่อการแบ่งปัน ส่วนหนึ่งของความคิดเพื่อการแลกเปลี่ยน ส่วนหนึ่งของผลงานเพื่อการประยุกต์ใช้      ระเบียงสาระ... มุ่งหวังที่จะได้นำเสนอสาระความรู้ ความคิด และผลงานทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน และนำปสู่การประยุกต์ใช้

เทคนิคในการทำผลงานทางวิชาการ

รูปภาพ
  เทคนิคในการทำผลงานทางวิชาการ : เทคนิคพื้นฐานสำหรับการทำผลงานวิชาการ   * ศาสตราจารย์ ดร.วิโฬฏฐ์   วัฒนานิมิตกูล   ในเบื้องต้นก่อนที่จะได้นำเสนอรายละเอียดของเทคนิคในการทำผลงานทางวิชาการ ผู้เขียนขอกำหนดนิยามของคำว่า “เทคนิคในการทำผลงานทางวิชาการ” ที่ใช้ในบทความนี้ ดังนี้            “ เทคนิคในการทำผลงานทางวิชาการ หมายถึง กลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการ หรือขั้นตอน หรือการกระทำใด ๆ เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอนหรือกิจกรรมการทำผลงานทางวิชาการนั้น ๆ มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ”            จากนิยามดังกล่าว ในการนำเสนอเทคนิคการทำผลงานทางวิชาการในครั้งนี้ จึงเป็นการบอกเล่าถึง กลวิธีต่าง ๆ ที่ผสมผสานไปกับกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำผลงานทางวิชาการที่ต้องจัดกระทำอยู่แล้ว หากแต่เพิ่มกลไกบางอย่างเข้าไปเพื่อให้เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น            สำหรับเทคนิคพื้นฐานสำหรับการทำผลงานทางวิชาการนั้น ขอนำเสนอใน 2 เทคนิค คือ 1)เทคนิคการเตรียมความพร้อมในการจัดทำผลงานทางวิชาการ 2) เทคนิค “การกำหนดหัวใจความสำเร็จ” โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้           1. เทคนิคการเตรียมความพร้อ