เจาะลึก... ตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะด้าน (ไม่ยากเกินความสามารถ)
ศ.ดร.วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล
ในแวดวงคณาจารย์ระดับอุดมศึกษาในเวลานี้
มีเรื่องราวให้เรียนรู้ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในหลายด้าน หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ
คือการเปิดโอกาสให้คณาจารย์ที่ไม่มีเวลาหรือโอกาสมากพอ ในการจัดทำผลงานทางวิชาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การวิจัย การเขียนตำรา หนังสือ
หรือผลงานในลักษณะอื่น เพื่อการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ เนื่องจากคณาจารย์ในกลุ่มนี้มีภารกิจส่วนใหญ่ผูกพันกับภารกิจด้านใดด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะ
อาทิ การลงพื้นที่เพื่อการพัฒนาชุมชน การคิดค้นนวัตกรรม การพัฒนาการเรียนการสอน
เป็นต้น
ซึ่งความทุ่มเทในการปฏิบัติงานเฉพาะดังกล่าวนำมาซึ่งความก้าวหน้าในเชิงวิชาการได้เป็นอย่างมากมาย
ในเวลานี้ ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ พ.ศ.2564 ได้เปิดช่องทางให้คณาจารย์กลุ่มดังกล่าว
ได้นำผลงานทางวิชาการที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติภารกิจเฉพาะด้านเหล่านั้นมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้
ภายใต้ความสนใจในการจัดทำผลงานทางวิชาการเฉพาะด้านดังกล่าว
คณาจารย์จำนวนมากต่างพากันวิตกกังวลว่า
หากวิธีการเสนอขอกำหนดตำแหน่งเฉพาะด้าน ไม่จำเป็นต้องทำวิจัย
แต่งหนังสือหรือตำรา และใช้ผลงานทางวิชาการที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานเฉพาะด้านมาจัดส่งแทน
คงต้องเป็นผลงานที่มีความลึกซึ้ง มีกลไกที่ซับซ้อน และมีคุณภาพในระดับสูงมาก ๆ
และน่าจะ “ยากเกินความสามารถ”
ในการจะนำเสนอในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการและยังมีคำถามต่าง ๆ อีกมากมายที่ต้องการคำตอบเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะด้าน
ในโอกาสนี้ผู้เขียนจึงขอ “เจาะลึก”
ถึงคำถามสำคัญ ๆ 10 คำถาม เกี่ยวกับการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะด้าน
ดังนี้
คำถามที่ 1
การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการปัจจุบันมีกี่แนวทาง อะไรบ้าง
คำตอบคือ ตามสาระในประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ พ.ศ.2564 ได้กำหนดแนวทางในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ จำแนกเป็น 2
แนวทาง คือ 1) ตำแหน่งทางวิชาการทั่วไป แนวทางนี้เป็นแนวทางเดิมที่เราใช้กันมาอย่างต่อเนื่อง
โดยต้องเลือกทำผลงานทางวิชาการที่หลากหลายในการเสนอขอแต่ละครั้ง ตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศ
ก.พ.อ.กำหนดไว้ 2) ตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะด้าน แนวทางนี้เป็นแนวทางใหม่สำหรับคณาจารย์ที่เป็นนักปฏิบัติในพื้นที่
หรือในศาสตร์เฉพาะ แต่ที่ไม่มีโอกาสและเวลาเพียงพอในการจัดทำผลงานประเภทงานวิจัย
ตำรา หรือหนังสือ รวมทั้งผลงานในลักษณะอื่น ได้นำผลงานงานจากการปฏิบัติในพื้นที่
หรือในศาสตร์เฉพาะนั้น ๆ มาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
คำถามที่ 2
ตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะด้าน
มีผลงานที่สามารถนำมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในด้านใดบ้าง
คำตอบคือ มีผลงานทางวิชาการเฉพาะด้านทั้งหมด
5 ด้าน คือ 1) ด้านรับใช้ท้องถิ่นและสังคม 2) ด้านสร้างสรรค์สุนทรียะ ศิลปะ 3)
ด้านการสอน 4) ด้านนวัตกรรม และ 5) ด้านศาสนา
คำถามที่
3 จะทราบได้อย่างไรว่า
อาจารย์ท่านใดได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะด้าน
คำตอบคือ ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่เสนอผลงานเฉพาะด้าน
เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ในคำสั่งแต่งตั้งนั้น ๆ จะระบุตำแหน่งทางวิชาการด้านที่เสนอขอ
พร้อมทั้งระบุสาขาวิชาของตำแหน่งทางวิชาการนั้น ๆ
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของผู้ขอ เช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์(ด้านรับใช้ท้องถิ่นและสังคม) สาขาปฐพีศาสตร์ รองศาสตราจารย์(ด้านการสอน)
สาขาวิชากฎหมายมหาชน ศาสตราจารย์(ด้านสร้างสรรค์สุนทรียะ
ศิลปะ) สาขาวิชาทัศนศิลป์ เป็นต้น
คำถามที่ 4
ผลการประเมินผลงานทางวิชาการระดับ B
A A+
เมื่อเทียบกับผลการประเมินทางวิชาการแบบเดิมที่มีระดับ พอใช้ ดี
ดีมาก ดีเด่น จะเป็นเช่นไร
คำตอบคือ
กระทรวงการอุดมศึกษา ฯ ได้เคยตอบข้อซักถามของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเรื่องการเทียบระดับการประเมินไว้
สรุปได้ดังนี้
คำถามที่ 5
กรณีผู้ขอกำหนดตำแหน่งไม่ได้จัดทำผลงานแต่เพียงผู้เดียว
จะกำหนดสัดส่วนกับผู้ร่วมจัดทำผลงานทางวิชาการอย่างไร
คำตอบคือ
สาระสำคัญในประกาศ ก.พ.อ. ฉบับ พ.ศ.2564 ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วม สรุปได้ดังนี้
แบบทั่วไป ยกเลิกการระบุปริมาณงานเป็นร้อยละ โดยกำหนดการมีส่วนร่วมระบุให้อยู่ภายใต้เงื่อนไข
ในลักษณะต่อไปนี้
(1) ผู้ประพันธ์อันดับแรก (first author)
(2) ผู้มีส่วนสำคัญทางปัญญา (essentially
intellectual contributor)
(3) ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (corresponding
author)
แบบเฉพาะด้าน ระบุปริมาณงานเป็นร้อยละในผลงานสร้างสรรค์ด้านสุนทรียะ
ศิลปะ และผลงานศาสนา ส่วนผลงานรับใช้ท้องถิ่นและสังคม ผลงานการสอน
และผลงานนวัตกรรม ระบุการมีส่วนร่วมเหมือนแบบทั่วไป
คำถามที่
6 ลักษณะการมีส่วนร่วม ทั้ง 3 ลักษณะ มีรายละเอียดสำคัญอะไรบ้าง
คำตอบคือ รายละเอียดของลักษณะการมีส่วนร่วม
สรุปได้ดังนี้
1)
ผู้ประพันธ์อันดับแรก (first author) หมายถึง
ผู้ที่มีชื่อในผลงานวิชาการเป็นชื่อแรก รับผิดชอบการทำผลงานวิชาการ
และเขียนต้นฉบับ(manuscript) ชิ้นนั้นด้วยตนเอง
2) ผู้มีส่วนสำคัญทางปัญญา (essentially intellectual contributor) หมายถึง บุคคลที่มีบทบาทมีส่วนสำคัญทางปัญญา (essentially intellectual contribution) ด้วยความเชี่ยวชาญจำเพาะในสาขาวิชาของตนเอง และความรับผิดชอบสำคัญในการออกแบบการวิจัย (research design) หรือการออกแบบงานวิชาการนั้น ๆ รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูล (data analysis) สรุปผลและให้ข้อเสนอแนะ
3) ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (corresponding author) หมายถึง บุคคลที่มีบทบาทและความรับผิดชอบในการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรือผลงานวิชาการ ให้เกิดการถ่ายทอดเป็นเรื่องราว แสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางวิชาการที่ประกอบด้วย การแสดงข้อมูล หลักฐาน ข้อคิดเห็น และประสบการณ์ รวมทั้งทำหน้าที่รับผิดชอบติดต่อกับบรรณาธิการ
คำถามที่
7 ในการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการด้วยผลงานวิชาการเฉพาะด้าน แยกเป็นวิธีปกติหรือวิธีพิเศษ
หรือไม่
คำตอบคือ
ในการเสนอด้วยผลงานทางวิชาการเฉพาะด้าน สามารถเสนอได้ทั้ง 2 วิธี ดังนี้
1) วิธีปกติ ในกรณีที่ผู้เสนอขอมีคุณสมบัติครบถ้วนในช่วงเวลาที่เสนอขอกำหนดตำแหน่ง
2) วิธีพิเศษ ในกรณีที่ผู้เสนอขอมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน หรือเปลี่ยนแปลงความเชี่ยวชาญจากระดับตำแหน่งทางวิชาการเดิมที่ดำรงอยู่
คำถามที่
8 ในการพิจารณาของผู้ทรงคณวุฒิ ต้องใช้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนกี่ท่าน และมีเกณฑ์การตัดสินแตกต่างกันหรือไม่
ในกรณีที่ขอวิธีปกติและวิธีพิเศษ
คำตอบคือ ในการพิจารณาผลงานทางวิชาการทั้ง
2 วิธี ต้องใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 คน
โดยในวิธีปกติให้ถือเสียงข้างมากของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานทางวิชาการ
ส่วนในวิธีพิเศษให้ถือเสียงเอกฉันท์ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานทางวิชาการ
คำถามที่
9 หลักเกณฑ์และวิธีการในการพิจารณาการขอกำหนดตำแหน่งโดยใช้ผลงานทางวิชาการเฉพาะด้าน
มีวิธีการอย่างไร
คำตอบคือ การพิจารณาผลงานทางวิชาการเฉพาะด้าน ประกอบด้วยหลักเกณฑ์
ดังนี้
คำถามที่ 10
เทคนิควิธีการในการจัดทำผลงงานทางวิชาการเฉพาะด้านให้ประสบความสำเร็จ ควรทำอย่างไร
คำตอบคือ
เทคนิควิธีการในการจัดทำผลงงานทางวิชาการเฉพาะด้านให้ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วยการดำเนินงาน
5 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 ศึกษา/ ทำความเข้าใจ ผลงานทางวิชาการเฉพาะด้านในแต่ละประเภท
โดยพิจารณาในประเด็นต่อไปนี้ 1) นิยาม
2) รูปแบบ 3) การเผยแพร่ และ4) ลักษณะคุณภาพ เพื่อให้เข้าใจผลงานทางวิชาการเฉพาะด้านในประเภทต่าง
ๆ อย่างชัดเจน รวมทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ของผลงานแต่ละประเภทด้วย เช่น
ผลงานรับใช้ท้องถิ่นและสังคม ได้กำหนดรายละเอียดที่สำคัญไว้ ดังนี้
นิยามของผลงานรับใช้ท้องถิ่นและสังคม
: ผลงานที่เกิดจากการดำเนินงานที่เป็นการ บูรณาการองค์ความรู้จาก สถาบันอุดมศึกษา ร่วมกับภาคีเครือข่ายภายในและภายนอกชุมชน ไปใช้ในบริบทเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสังคมในมิติต่าง
ๆ โดยใช้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาอย่างน้อยหนึ่งสาขาวิชา
และปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมเชิงประจักษ์ต่อสาธารณะ
รูปแบบเอกสารผลงานรับใช้ท้องถิ่นและสังคม
จัดทำเป็นเอกสารและมีคำอธิบายหรือคำชี้แจงที่ชัดเจน รายละเอียดเนื้อหาของเอกสารแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบที่สำคัญ
ดังนี้
1)
การมีส่วนร่วมและการยอรับของท้องถิ่นเป้าหมาย
2)
สภาพการณ์ของท้องถิ่นและสังคมก่อนการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
3)
กระบวนการที่ทำให้ท้องถิ่นและสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
4)
ความรู้หรือความเชี่ยวชาญที่ใช้ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
5)
การคาดการณ์สิ่งที่จะตามมาหลังการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้ว
6)
การประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความรู้หรือความเชี่ยวชาญจากสาขาของผู้ยื่นขอ
7) แนวทางการติดตามและธำรงรักษาพัฒนาการที่เกิดขึ้นให้คงอยู่ต่อไป
จากสาระสำคัญของผลงานรับใช้ท้องถิ่นและสังคม
ดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า คณาจารย์ที่จะเสนอขอกำหนดตำแหน่งเฉพาะด้านด้วยผลงานประเภทนี้
จำเป็นต้องเข้าใจถึงนิยามของผลงานและที่สำคัญยิ่งต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบเอกสารคำอธิบายหรือคำชี้แจง
ซึ่งต้องเก็บรวบรวมข้อมูลในหลายลักษณะในของแต่ละช่วงเลาที่ดำเนินงาน
เพื่อทำให้เกิดความสมบูรณ์ของผลงานทางวิชาการนี้
ประการที่ 2 เลือกรูปแบบ/วิธีการเสนอและผลงานวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอ
ดังนี้
ขั้นที่ 1 ตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานของผู้ขอกำหนดตำแหน่ง
1.1 คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
1.2 ระยะเวลาที่กำหนดไว้
1.3 ข้อจำกัดต่างๆ
1.4 ปัจจัยเสริมในการจัดทำผลงาน
ขั้นที่ 2
การเลือกรูปแบบ/วิธีการในการจัดทำผลงานทางวิชาการ
2.1
ทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำผลงานทางวิชาการ
2.2
ตัดสินใจเลือกวิธีการและประเภทของผลงานที่จะจัดทำ
ประการที่ 3 วางแผนการจัดทำผลงาน ดังนี้
ขั้นที่ 1
ระบุวิธีการในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ขั้นที่ 2 กำหนดรายการปฏิบัติต่าง
ๆที่เกี่ยวข้องผลงานทางวิชาการนั้น ๆ
2.1
การประเมินผลการสอน
2.1.1 เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการสอน
2.1.2
ภาคเรียนที่จะเข้ารับการประเมินผลการสอน
2.2
ผลงานทางวิชาการ
2.2.1
ระบุจำนวนผลงานทางวิชาการ (ตามเกณฑ์ขั้นต่ำเป็นอย่างน้อย)
2.2.2 แจกแจงรายการปฏิบัติต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการ
ขั้นที่ 3 นำไปจัดทำเป็นแผนปฏิบัติราชการที่ระบุรายการเป้าหมาย
และช่วงเวลาปฏิบัติที่ชัดเจน
ประการที่ 5 การจัดส่งผลงานเพื่อรับการประเมิน
โดยจัดส่งผ่านสาขาวิชา คณะ ไปยังงานกำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามลำดับ
เพื่อดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติต่อไป
เอกสารอ้างอิง
ประกาศ ก.พ.อ.หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.2564. (2565, 7 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา.
เล่ม 139
ตอนพิเศษ 4 ง. หน้า 22-50.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น